RSS

Category Archives: วัฒนธรรมการดื่มกาแฟ

การดื่มกาแฟของชาวเวียดนาม

               เวียดนามเป็นชนชาตินิยมดื่มกาแฟ ในศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศสได้นำกาแฟและเผยแพร่วัฒนธรรมการดื่มกาแฟในเวียตนาม  เวียตนามจึงเริ่มปลูกกาแฟและได้เป็นประเทศผู้ปลูกกาแฟสำคัญของโลก โดยในช่วงปลายศตวรรษ 1990 เวียตนามเป็นผู้ปลูกกาแฟใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากบราซิล รวมทั้งเป็นผู้ส่งออกกาแฟสำคัญ เวียตนามปลูกกาแฟหลายพันธ์ในภาคต่างๆของประเทศ อาทิ Arabica, Robusta, Chari (Excelsa) , Catimor เป็นต้น ทำให้สามารถผลิตกาแฟผสมให้ได้รส ลักษณะ และความสมดุลของกาแฟที่หลากหลาย การชงกาแฟแบบเวียตนามดั้งเดิม มีลักษณะคล้ายกับกาแฟของไทย คือกาแฟเย็น ชงโดยใส่นมข้นและน้ำแข็ง และกาแฟร้อน มีทั้งแบบกาแฟดำไม่ใส่นม และกาแฟร้อนใส่นมข้น กาแฟแบบดั้งเดิม นิยมใส่นมข้น มากกว่านมสด

               ยอดจำหน่ายกาแฟของร้านกาแฟในเวียดนามในปี 2005 มีมูลค่า 14.9  พันล้านดอง หรือ 31.3 ล้านบาท โดยมีร้านกาแฟทั่วประเทศประมาณ  8,350  ร้าน  เพิ่มจากปี 2004 ร้อยละ11 ความนิยมดื่มกาแฟมีผลส่วนหนึ่งมาจากการเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกกาแฟหลากรสและคุณภาพ

                ตลาดร้านกาแฟในเวียดนาม   ครองตลาดโดยบริษัทท้องถิ่น บริษัท  Trung   Nguyen  Coffee  จำกัด  เป็นผู้นำในธุรกิจนี้   บริษัทครองตลาดร้านกาแฟในเวียดนามถึงร้อยละ  85 ของยอดจำหน่ายกาแฟทั้งสิ้น และมีเครือข่ายร้านกาแฟ ร้อยละ 92 ของจำนวนร้านกาแฟทั้งหมดของเวียตนาม บริษัทได้ชื่อว่า เป็น  Starbucks  ของเวียดนาม และในช่วงต้นปี  2007  ก็ยังไม่มีบริษัทยักษ์ใหญ่ร้านกาแฟต่างชาติ  เข้าไปดำเนินธุรกิจแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ทั้งบริษัท Coffee Bean and Tea Leaf  และStarbucks  มีแผนการตั้งร้านกาแฟในเวียตนาม โดยคาดกันว่า Starbucks กำลังดำเนินการเรื่องร่วมทุนกับบริษัทเวียตนาเพื่อให้สามารถเจาะขยายตลาดเวียตนามได้รวดเร็วขึ้น

                คนเวียดนามมักใช้ร้านกาแฟเป็นสถานที่พบปะทางธุรกิจ  และสังคม  ร้านกาแฟมีทั้งแบบร้านกาแฟแฟรนไชส์  สาขา  และร้านกาแฟอิสระ  คนหนุ่มสาวในเมืองมักนิยมเข้าร้านแฟรนไชส์ และสาขา  คนรายได้น้อยมักเข้าร้านกาแฟอิสระซึ่งมีอยู่ทั่วไปในทั้งเมืองใหญ่  เช่น  ฮานอย 

                โฮชิมินส์  และในชนบท  ร้านกาแฟอิสระที่เป็นที่นิยมมาก  เช่น  Coffee New Window,  Hale  Coffee  และ  Nang  Saiggon  มักพบในเมืองใหญ่

                ในช่วง  2-3 ปีที่ผ่านมา  จำนวนครัวเรือนซึ่งมีรายได้สูงคือ  ครัวเรือนที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า  6.5  ล้านดอง  หรือ  13,650  บาทต่อเดือน  ได้เพิ่มจากร้อยละ 7.3  เป็นร้อยละ 12  ปัจจัยรายได้ที่สูงขึ้นนี้ทำให้ผู้ซื้อผู้บริโภคกลุ่มนี้มีความต้องการสินค้า  และบริการที่มีคุณภาพ  มีคลาสมากขึ้น  คนกลุ่มนี้ยินดีจ่ายเงินสูงขึ้นเพื่อดื่มกาแฟที่มีคุณภาพ  และนั่งดื่มด่ำกับบรรยากาศร้านที่มีที่ตกแต่งอย่างสวยงาม  พร้อมทั้งมีกลิ่นกาแฟที่หอมกรุ่นตลอดเวลา จึงทำให้ร้านกาแฟแบบมีสาขา  และแฟรส์ไชส์  เช่น  ร้านของบริษัท     Trung  Nguyen  มีการขยายตัวและเปิดสาขาอย่างรวดเร็วในเมืองต่างๆ ของเวียดนาม  โดยบริษัทมีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง  จนทำให้ชื่อ  “Trun  Nguyen”  เป็นชื่อแบรนด์เนมประจำชาติเวียดนาม

                ภาพยนตร์เกาหลี  เป็นที่ชื่นชอบของวัยรุ่นเวียดนาม  และกลุ่มคนอายุระหว่าง  25-39 ปี  และส่งอิทธิพลให้คนเหล่านั้นเลียนแบบวิถีชีวิต  และการใช้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มคนระดับกลางและระดับสูงของเกาหลี  อาทิเช่น  การพบปะสังคม ณ  ร้านกาแฟสมัยใหม่ 

                ร้านกาแฟทั่วไปในเวียดนามมักจะมีคาราโอเกะให้บริการด้วย คนเวียดนามชอบคาราโอเกะ  ถือเป็นสันทนาการเพื่อพักผ่อนหย่อนใจเช่นเดียวกับคนไทย  อย่างไรก็ตาม  คนเวียดนามมักสั่งกาแฟและเครื่องดื่มชนิดต่างๆ  เมื่อไปร้านกาแฟสมัยใหม่มากกว่าจะสั่งอาหาร  อาหารในร้านกาแฟที่สั่งก็มักเป็นอาหารว่าง  เช่น  แซนวิช  เค้ก  สลัด 

                นอกจากคาราโอเกะแล้ว  ร้านกาแฟบางแห่งให้บริการ  Light  Speed  Wireless Internet (Wi-Fi)  โดยไม่ต้องเสียเงินด้วย  ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักศึกษาและหนุ่มสาววัยทำงาน  คนกลุ่มนี้มักมี Laptop นำไปต่อใช้  Internet  ที่ร้านกาแฟ

 

การดื่มกาแฟของชาวตุรกี

              กาแฟ ตุรกีเป็นเครื่องดื่มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ  มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไปโลกกาแฟมีถิ่นกำเนิดในประเทศเอธิโอเปีย   ในสมัยโบราณเรีกว่า  อะบิสซิเนีย  ตามตำนานเล่าว่า  คนเลี้ยงแพะสังเกตพบว่า  เวลาที่แพะกินผลไม้จากต้นไม้ชนิดหนึ่งเข้าไปจะรู้สึกสดชื่นมีชีวิตชีวาขึ้น มาทันที  จึงได้ไปบอกกับนักบวชในศาสนาผู้หนึ่งชื่อ Shazili นักบวชผู้นี้ได้ทดลองนำเมล็ดจากต้นไม้ดังกล่าวมาต้มดื่มดู  ปรากฏว่า  เมื่อดื่มเข้าไปแล้วรู้สึกสดชื่นขึ้นมาโดยทันที  ในศตวรรษที่ ๑๕ ข้าหลวงออตโตมันประจำเยเมน  ชื่อ Ozdemir Pasha ได้เมล้ดพืชดังกล่าวจากเอธิโอเปียไปเพาะขยายพันธุ์ในเยเมน  ทำให้เยเมนกลายเป็นแหล่งผลิตกาแฟที่สำคัญในเวลาต่อมา  อย่างไรก็ดี  เนื่องจากปริมาณความต้องการกาแฟได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆกาแฟที่ผลิตได้จาก เยเมนจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ  ภายหลังที่โคลัมบัสได้ค้นพบทวีปอเมริกา  ได้มีการนำพันธุ์ไปเพาะขยายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ซึ่งมีอุณหภูมิที่เหมาะสม   ทำให้กาแฟขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

             กาแฟถูกนำเข้ามายังเยเมน  และได้ถูกเผยแพ่ต่อไปยังประเทสยุโรปอื่นๆ  ตามประวัติเล่าว่า  ภายหลังที่ออตโตมันไม่ประสบความสำเร็จในการตีกรุงเวียนนาครั้งที่ ๒  ในปี ค.ศ. ๑๖๘๓   กองทหารออตโตมันได้ทิ้งกระสอบบรรจุเมล็ดกาแฟ  จำนวนหลายร้อยถุงไว้นอกกำแพงกรุงเวียนนา  ทหารออสเตรียได้ไปพบจึงนำไปเผาทำลาย  นายทหารคนหนึ่ง ชื่อ kolschizky ซึ่งเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นครอิสตันบลูได้กลิ่นกาแฟที่กำลังถูกเผา  จึงนำกาแฟที่เหลือรอดจากการถูกเผาไฟไปเผยแพร่ให้ชาวออสเตรเลียรู้จัก  และได้กลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของชาวออสเตรเลียและชาวยุโรปอื่นๆ

                ในสมัยออตโตมัน  กาแฟเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในราชสำนักและของประชาชนทั่วไป  ชาวตุรกีเรียกกาแฟว่า “Kahve” ซึ่งสันนิษบานว่า  อาจจะมาจากชื่อของที่ราบสูง “Kaffa” ในประเทสเอธิโอเปีย  หรืออาจจะมาจากคำในภาษาแอฟริกาว่า “Kahve” ซึ่งมีความหมายว่าไวน์  ในสมัยสุลต่านเมห์เมตที่ ๔ กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ยอดนิยมในราชสำนัก  ถึงกับมีการแต่งตั้งพนักงานประจำทำหน้าที่เตรียมกาฟถวายสุลต่าน นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่า  หากพระราชมารดาของสุลต่านต้องการจะแนะนำนางพระกำนัลคนใหม่ให้สุลต่านได้ รู้จัก  ก็จะโปรดให้นางพระกำนัลคนนั้นนำกาแฟไปถวายแด่สุลต่าน เพื่อเป็นการแนะนำตัว

                 กาแฟกลายเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นในหมู่ชาวตุรกี ทั่วไปการดื่มกาแฟนอกจากจะเพื่อความสำราญส่วนตัวแล้ว  ยังเป็นกิจกรรมทางสังคมที่สำคัญ และได้นำไปสู่ประเพณีการทำนายโชคชะตาจากถ้วยกาแฟตุรกี  ซึ่งเป็นที่นิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่สตรี  วิธีการทำนาย  คือ  เมื่อดื่มกาแฟหมดถ้วยแล้ว  ผู้ดื่มจำคว่ำถ้วยกาแฟตุรกี  ซึ่งเป็นถ้วยขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ๒ นิ้ว และกล่าวคำอธิษฐาน “kahve pir, kalbime gir, kalbimden Cik, fincana gir” ซึ่งมีความหมายว่าขอให้กาแฟเข้าไปสู่หัวใจของข้าพเจ้า  แล้วกลับออกมา  และเข้าไปในถ้วยกาแฟ หมอดูจะทำการเปิดถ้วยกาแฟ  เพื่อดูคราบกาแฟในถ้วย โดยจะกล่าวคำว่า “Neyse halin Ciksin falin” ซึ่งมีความหมายว่า ข้าพเจ้าหวังว่าโชคชะตาของคุณจะปรากฏอยู่ในถ้วยใบนี้

 

การดื่มกาแฟของชาวพม่า

                   แหล่งความสุขเดิม ๆ ของคนพม่า ที่ดูโดดเด่นมากที่สุดมี ๒ แห่ง คือ ที่ลานพระเจดีย์ และที่ร้านน้ำชา กล่าวได้ว่าชาวพม่าจะหาความสงบกันที่ลานเจดีย์ และไปหาความบันเทิงกันที่ร้านน้ำชา สองสิ่งนี้สามารถบันดาลความสุขให้กับผู้คนได้ทุกชนชั้น หากไปย่างกุ้งแล้วไม่เคยแวะเวียนไปเที่ยวเจดีย์ หรือไม่เคยนั่งลิ้มรสบรรยากาศที่ร้านน้ำชา ก็นับว่ายังสัมผัสไม่ถึงความสุขที่เรียบง่าย ซึ่งหาได้ยากในสังคมสมัยใหม่
ในประเทศพม่า มีร้านน้ำชาอยู่ทั่วไป หาได้ง่ายไม่ว่าในเมืองหรือในชนบท โดยเฉพาะในตัวเมือง จะมีร้านน้ำชาอยู่ทั่วทุกย่าน ที่เมืองย่างกุ้งจะพบร้านน้ำชาทั้งในตลาด แถวริมทาง ย่านที่อยู่อาศัย ตามสถานที่ราชการ และในสถานศึกษา ทำเลที่ดีที่สุดของร้านน้ำชาจะอยู่ที่ใต้ร่มไม้ หรือไม่ก็ที่ริมทางซึ่งผู้คนสัญจรไปมา พม่าเรียนร้านน้ำชาว่า ละแพะ-เหย่-ส่าย
                    ร้านน้ำชาส่วนมากที่อยู่ในย่านชุมชน มักจะเปิดจำหน่ายน้ำชากันตลอดวัน เริ่มตั้งแต่เช้าราวตี ๔ และปิดในเวลาประมาณ ๓ ทุ่ม หากเป็นช่วงหน้าร้อนก็จะปิดดึกกว่านี้ อาจถึงราว ๕ ทุ่ม เพราะผู้คนมักจะหนีความร้อนอบอ้าวภายในบ้าน มานั่งรับลมกันยังนอกบ้าน
                   ร้านน้ำชาหลายที่จะเปิดเพลงบริการลูกค้า เพราะคนพม่าชอบฟังเพลง และชอบร้องเพลง เพลงเป็นสิ่งดึงดูดลูกค้าได้มาก ร้านที่เปิดเพลงบริการลูกค้ามักจะขายดี เพลงส่วนใหญ่ที่เปิดในร้านน้ำชามักจะเป็นเพลงสมัยนิยม แทบไม่มีเพลงศาสนา ไม่มีเพลงย้อนยุค ไม่มีเพลงเพื่อชีวิต และไม่มีเพลงปลุกใจให้รักชาติ เพลงในร้านน้ำชาจึงบ่งบอกถึงรสนิยมของผู้คนปัจจุบัน ที่ชอบความครึกครื้นด้วยสาระที่เบา ๆ
                   ชาวพม่านิยมไปร้านน้ำชา ไม่เพียงเพื่อดื่มชากาแฟ แต่ยังเพื่อการพักผ่อนและพูดคุยกัน บ้างนัดพบปะกันที่ร้านน้ำชา บ้างมาหารือกันในธุระส่วนตัว บ้างมาเจรจาธุรกิจการค้า หรือมาตกลงว่าจ้างนายหน้า บ้างมาสนทนาเรื่องการบ้านการเมือง  ตลอดจนเรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย  หรือนินทา ต่างก็รับรู้ได้จากร้านน้ำชา ร้านน้ำชาจึงเป็นที่ไหลเวียนของข่าวคราว ข่าวสด ข่าวล่า และข่าวลือ  แต่เดี๋ยวนี้ร้านน้ำชามีทั้งหนุ่มและสาวมานั่งเล่นนั่งคุยกัน อาจเป็นเพราะค่านิยมระหว่างชายกับหญิงเริ่มฉายเงาซ้อนทับกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
                 ร้านน้ำชามีอาหารขายหลายอย่าง ของหลักคือ ชาร้อน มีทั้งแบบใส่นมข้นและใส่นมสด หากเป็นชาร้อนธรรมดา เรียกว่า ละแพะเหย่ แต่ถ้าเป็นชาร้อนใส่นมข้น เรียกว่า แช (iapN) คำนี้กร่อนมาจากคำว่า special แต่ถ้าใส่นมสด จะเรียกว่า  ก๊วดแช (8:9NiapN) หมายถึง good and special นั่นเอง
นอกจากชาร้อน ก็ยังมีกาแฟร้อนขายด้วยเช่นกัน บางที่มีนมสดขาย พม่าไม่นิยมดื่มชาเย็นหรือกาแฟเย็น ของที่กินร่วมกับน้ำชาส่วนมากมักเป็นของทอด เช่น ปาท่องโก๋ โรตี ซะโมซา ปอเปี๊ยะทอด  และยังมีซาละเปากับขนมปัง ซึ่งมีทั้งขนมปังปิ้งและขนมปังชุบไข่ทอด ชาวพม่านิยมดื่มชาร้อนกับปาท่องโก๋มากกว่าของทอดอย่างอื่น ปาท่องโก๋พม่าทอดเป็นคู่เช่นกัน แต่ต่างจากปาท่องโก๋ไทยตรงที่ขนาด ปาท่องโก๋พม่าจะยาวเกือบ ๑ ฟุต กินคู่เดียวก็พออิ่มท้อง
                   ร้านน้ำชาเป็นอีกที่หนึ่งที่ช่วยให้ได้เรียนรู้รสนิยม ตลอดจนวิถีชีวิตแบบพม่า ที่ร้านน้ำชานั้นเราอาจได้รู้จักชีวิตของเจ้าของร้าน ซึ่งบางคนมีใบปริญญาบัตรแขวนอวดไว้ที่ในร้าน เราอาจได้เรียนรู้ชีวิตของเด็กเสิร์ฟอายุน้อย ที่เดินว่อนคอยเรียกและเอาใจลูกค้า  เราอาจได้เรียนรู้ชีวิตของหนุ่มวัยรุ่น ที่ง่วนอยู่กับการทอดปาท่องโก๋ เราอาจได้สัมผัสชีวิตของผู้คนทั้งชายและหญิง ที่มานั่งพูดคุยถึงความเป็นไปในพม่า และเราอาจได้ข่าวสารที่หาอ่านไม่ได้ตามหน้าหนังสือพิมพ์
อาหารที่ขายในร้านน้ำชา มักมีรายการอาหารบริการลูกค้า ดังนี้
                  อาหาร                                          คำอ่าน                          ราคา
                   น้ำชา                                          เหย่-นเว-จาง                  (ไม่คิดเงิน)

                   ชาร้อน                                        ละแพะเหย่                    ๒๕ / ถ้วย
                   กาแฟ                                         กอผี่/กะผี่                      ๓๐ / ถ้วย
                   นมสด                                         นัวโนะ                          ๑๐๐ / แก้ว
                   ข้าวโอ๊ต                                       ก่วยก่าโอ๊ะ                    ๔๕ / แก้ว
                   ปาท่องโก๋                                    อี่จ่ากวย                        ๒๐–๒๕ / คู่
                   โรตี                                            ปะหล่าต่า                      ๓๐ / ชิ้น
                   โรตีโอ่ง                                       หนั่งบยา                        ๑๒ / แผ่น
                   ปอเปี๊ยะทอด                                ก่อเปี้ยงจ่อ                     ๑๐ / ชิ้น
                   ซะโมซา                                      สะหมู่ส่า                        ๒๐ / ชิ้น
                   ซาลาเปา                                      เป้าสี่                            ๔๕ / ลูก

                อันที่จริง ชาวพม่านิยมดื่มชามากกว่ากาแฟ ชาที่ดื่มเป็นชาร้อน และชอบดื่มกันเป็นประจำทั้งในยามเช้าและยามเย็น ต่อเมื่อรู้สึกเป็นไข้ หรือไม่สบายจึงจะหันมาดื่มกาแฟกัน ชาวพม่าจึงถือว่า กาแฟเป็นเครื่องดื่มสำหรับคนเจ็บไข้ได้ป่วย และในภาษาพม่าจะมีเฉพาะคำว่าร้านน้ำชา ไม่มีคำเรียกสำหรับร้านกาแฟอย่างบ้านเรา ชาจึงนับเป็นเครื่องดื่มประจำชาติของชาวพม่าตลอดมา  พอถึงสมัยนี้ การดื่มกาแฟกลับเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เดิมทีกาแฟที่คนพม่าดื่มนั้น เป็นกาแฟผงที่คั่วบดขายกันตามท้องตลาด มีกรรมวิธีในการชงที่ออกจะยุ่งยาก แต่เมื่อมีการนำกาแฟสำเร็จรูปเข้ามาขายในพม่า ชาวพม่าจึงเริ่มเปลี่ยนรสนิยมหันมาดื่มกาแฟกันมากขึ้น ด้วยหาซื้อกาแฟสำเร็จรูปได้ง่าย และราคาก็ไม่แพง ปัจจุบันกาแฟสำเร็จรูปมีวางขายทั่วไป ทั้งในตลาดสด ซูเปอร์มาร์เกต หรือแม้แต่ร้านน้ำชาเอง จนอาจเรียกยุคนี้ของพม่าเป็นยุคแห่งการดื่มกาแฟ หรือยุควัฒนธรรมกาแฟสำเร็จรูปได้ทีเดียวที่จริงแล้ว
                   การดื่มกาแฟสำเร็จรูปเพิ่งเริ่มนิยมในพม่าได้เพียงหนึ่งทศวรรษเท่านั้น แรกๆมีการนำกาแฟสำเร็จรูปมาทดลองตลาดในพม่า พอเริ่มมีผู้นิยมบริโภคกันมากขึ้น กาแฟหลากหลายยี่ห้อก็มุ่งเจาะตลาดในพม่า จนขณะนี้มีกาแฟสำเร็จรูปจำหน่ายในประเทศพม่าไม่ต่ำกว่า ๑๕ ยี่ห้อ จากการที่ชาวพม่าหันมาดื่มกาแฟกันมากขึ้น ตลาดกาแฟสำเร็จรูปจึงมีการแข่งขันกันสูง มีการใช้เทคนิคหลายอย่างเพื่อแย่งลูกค้ากัน อาทิ จ้างดาราชั้นนำของพม่ามาเป็นแบบโฆษณา ซึ่งนับว่าได้ผลมาก มีการแต่งเพลงประกอบโฆษณา ซึ่งขับร้องโดยนักร้องชื่อดังของพม่า บ้างนำเสนอภาพทิวทัศน์งามๆประกอบในโฆษณา และมีถึงขนาดเดินทางมาถ่ายทำโฆษณาที่จังหวัดภูเก็ตบ้านเรา ช่วงเวลาในการโฆษณาก็ลงทุนเสนอในรายการที่คนนิยม โดยเฉพาะรายการภาพยนตร์จีน นอกจากนี้บางบริษัทใช้เทคนิคขายตรงถึงลูกค้าทั้งในย่างกุ้งและต่างจังหวัด บางบริษัทนำสินค้าไปเสนอลูกค้าด้วยการชงแจกให้ทดลองดื่ม โดยเฉพาะที่ร้านน้ำชา และร้านอาหาร บ้างมีการแจกของแถม อาทิ ปากกา เสื้อยืด และปิ่นโต บ้างมีการแจกสลากนำโชค โดยซ่อนไว้ในซองกาแฟ นับว่ามีความพยายามหลายทางที่จะครองตลาด ปรากฏการณ์นี้จึงย่อมมีผลถึงการเปลี่ยนรสนิยมของชาวพม่าให้หันมาดื่มกาแฟแทนชากันมากขึ้น
                   ในการแย่งส่วนแบ่งทางตลาดนั้น หลายบริษัทคาดหวังที่จะขยายตลาดของตนด้วยการทุ่มทุนโฆษณากันอย่างเต็มที่ เพื่อให้สินค้าของตนติดหูติดตาลูกค้า แต่คุณภาพ รสชาติ ราคา การจัดจำหน่าย ตลอดจนรูปลักษณ์ของสินค้า ต่างเป็นปัจจัยในการยึดครองตลาด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญน่าจะเป็นที่รสชาติและราคา ส่วนคุณภาพและปัจจัยอื่นๆนั้น ยังถือเป็นปัจจัยรอง เพราะตลาดส่วนใหญ่ของพม่าเป็นตลาดของคนที่มีรายได้น้อยและปานกลาง กาแฟที่จะสามารถยึดครองตลาดพม่าได้มาก จะต้องมีราคาเหมาะสมกับรายได้ของชาวพม่าทั่วไป และรสชาติก็ต้องถูกคอชาวพม่า คือ เข้ม มัน และอ่อนหวาน ปัจจัยด้านราคาและรสชาติจึงมีความสำคัญต่อการจูงใจชาวพม่าให้หันมาดื่มกาแฟ ในตอนนี้กาแฟร้อนตามร้านน้ำชามีราคาถ้วยละ ๒๕ จั๊ต ในขณะที่ชาร้อนมีราคาถ้วยละ ๓๐ จั๊ต ชาร้อนจึงเริ่มจะมีทีท่าพ่ายให้กับกาแฟสำเร็จรูปอย่างน่าจับตามอง ส่วนกาแฟสำเร็จรูปที่ขายติดอันดับในปัจจุบันนั้น คือ ยี่ห้อ Super Coffeemix และ Ben Caf้ ยี่ห้อแรกครองตลาดมาก่อน แต่เริ่มเสียตลาดให้กับยี่ห้อหลัง กาแฟทั้งสองยี่ห้อมีรสไม่หวานจัด ยี่ห้อหลังจะขมกว่ายี่ห้อแรกเล็กน้อย และทั้งสองยี่ห้อจะมีรสมัน ซึ่งถูกคอชาวพม่าทั่วไปการที่ชาวพม่าเริ่มนิยมดื่มกาแฟสำเร็จรูปกันมากขึ้นนั้น น่าจะเป็นเพราะกาแฟสำเร็จรูปเก็บรักษาง่าย ชงง่าย อีกทั้งหาซื้อง่าย ราคาถูก สะอาด และสะดวก คนพม่าบางส่วนจึงเริ่มหันมาดื่มกาแฟในตอนเช้า บ้างว่ากาแฟช่วยให้สดชื่น โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มเหล้าจะดื่มกาแฟเพื่อให้สร่างเมา อีกทั้งมีความนิยมถวายกาแฟให้กับพระสงฆ์ และจนแม้แต่เด็กเล็กก็เริ่มดื่มกาแฟแทนชาร้อนกันในตอนเช้า การดื่มกาแฟจึงได้เริ่มแทรกสู่วิถีชีวิตของชาวพม่ามากขึ้นเรื่อย ๆ
             นอกจากนี้ ยังได้มีการเสนอการบริโภคกาแฟในรูปแบบใหม่เป็นกาแฟเย็น ชาวพม่าจึงเริ่มรู้จักการดื่มกาแฟเย็น    และเป็นไข้ได้ง่าย ยิ่งเมื่อเพิ่งเดินผ่านแดดร้อนๆมา ชาวพม่าจะห้ามการดื่มของที่เย็นจัดอย่างน้ำแข็ง ห้ามล้างหน้า ล้างเท้า และห้ามอาบน้ำในทันที การดื่มกาแฟเย็นจึงดูจะขัดกับบริโภคนิสัยของชาวพม่า ที่มักเฝ้าระวังสุขภาพกันอยู่ตลอดเวลา การเสนอรสนิยมแบบใหม่ให้ชาวพม่าหันมาดื่มกาแฟเย็น หรือเปลี่ยนค่านิยมจากการดื่มชาร้อนมาเป็นกาแฟนั้น ถือเป็นจุดหมุนเปลี่ยนทางวัฒนธรรมการบริโภคของพม่าที่กำลังถูกทดสอบด้วยกลไกทางการตลาด อย่างไรก็ตาม ชาวพม่าส่วนมากยังเชื่อมั่นว่า ชาร้อนจะไม่มีวันถูกลืมเลือนไปจากวิถีชีวิตพม่า และร้านน้ำชาก็ไม่น่าจะกลายภาพเป็นร้านกาแฟไปได้ในยุคนี้

 

การดื่มกาแฟของชาวอเมริกัน

            คนอเมริกันเป็นคนไม่ค่อยพิถีพิถันในการดื่มกาแฟ กาแฟที่เขานิยมใช้เป็น Instant coffee ซึ่งต่างจากวัฒนธรรมในการดื่มกาแฟของคนยุโรปที่มีความเนียนกว่ามาก
            Howard Schultz ไม่มัวแต่ฝันแต่ทำจริงถึงขั้นลาออกจากงาน แล้วขอไปเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งของ Starbucks ทำไปได้พักหนึ่งอีตา Howard ลงทุนไปที่อิตาลีที่ที่เป็นแม่แบบของศิลปะการดื่มกาแฟ ทำให้เขายิ่งมีความมั่นใจว่าเดินมาถูกทาง การดื่มกาแฟไม่ใช่เป็นเพียงที่แค่รสชาติ แต่เริ่มจากการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์กาแฟ
การเลือกใช้เครื่องชงที่มีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟของคนอเมริกัน อยากทำความเข้าใจกันก่อนว่าคนอเมริกันเป็นคนไม่ค่อยพิถีพิถันในการดื่มกาแฟ กาแฟที่เขานิยมใช้เป็น Instant coffee ซึ่งต่างจากวัฒนธรรมในการดื่มกาแฟของคนยุโรปที่มีความเนียนกว่ามาก 
           Howard Schultz ไม่มัวแต่ฝันแต่ทำจริงถึงขั้นลาออกจากงาน  แล้วขอไปเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งของ Starbucks  ทำไปได้พักหนึ่งอีตา Howard ลงทุนไปที่อิตาลีที่ที่เป็นแม่แบบของศิลปะการดื่มกาแฟ  ทำให้เขายิ่งมีความมั่นใจว่าเดินมาถูกทาง การดื่มกาแฟไม่ใช่เป็นเพียงที่แค่รสชาติ แต่เริ่มจากการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์กาแฟ การเลือกใช้เครื่องชงที่มีแรงดันไอน้ำที่ถูกต้องและอุณหภูมิที่เหมาะเจาะ  พร้อมฝีมือที่แพรวพราวของคนชงหรือที่เรียกกันในภาษาอิตาเลียนว่า  Barrista

 

การดื่มกาแฟของชาวออสเตรีย

                 วัฒนธรรมหนึ่งของคนออสเตรียคือ  ไปนั่งอ่านหนังสือพิมพ์หรือไปคุยกับเพื่อน หรือถกปัญหาการเมืองกันในร้านกาแฟ เราจะเห็นร้านกาแฟมากมายน่านั่งโดย เฉพาะในวันอากาศดี เรามาดูกันซิคะว่าคนออสเตรีย เขาดื่มกาแฟอะไรกันบ้าง

                ร้านกาแฟที่นี่เขาจะเรียก คาเฟเฮ้าส์ Kaffeehaus แต่ถ้าเข้าร้าน คอนดิโทรัย Konditorei จะมีขนมมากมายให้เลือก กาแฟที่นี่เขาจะเสริฟหลายแบบ  ตามแต่ผู้นิยมกาแฟจะสั่งออสเตรียนมอคค่าที่เรียกว่าไคลเน่อร์ชวาสเซ่อร์ kleinerSchwarzer เทียบเท่ากาแฟเอสเพลสโซ่เข้มข้นไม่ใส่นม มาดูชื่อกาแฟกันเพื่อเราจะได้เลือกสั่งถูกตามที่เราชอบ

           · Grosser Schwarzer ( โกรซเซ่อร์ ชวาสเซ่อร์ ) คือดับเบิ้ลเอสเพลสโซ่เข้มข้นยกกําลังกันทีเดียว ต้องคอกาแฟแก่มากๆ เรียกว่าดื่มแล้วหัวใจวูบวาบกันเลย ถ้วยจิ๋วๆแต่รสร้อนแรง ราคาก็รุนแรงเช่นกัน
           · กาแฟดําไม่ใส่นมหรือครีม Kleiner Brauner or Grosser Brauner ( ไคลนเน่อร์บราวเน่อร์, โกรซเซ่อร์ บราวเน่อร์ ) คือกาแฟมอคค่า ใส่นม ถ้วยเล็ก หรือถ้วยโต รสเข้มข้น หอมหวล ของมอคค่าใส่นม อร่อยสําหรับคอกาแฟแก่เช่นกัน
           · Verlaengerter ( แฟเล้งเงิดเท่อร์ ) คือกาแฟที่เบาลงมากแล้ว หางกาแฟผสมนม สําหรับคนที่ชอบดื่มกาแฟบ่อยๆ แต่ไม่รุนแรงมากนัก อร่อยและสบายกระเป๋า เพราะราคาถูกกว่ากาแฟชนิดอื่น
           · Melange ( เมล้องช์ ) คือกาแฟที่ใส่มอคค่าครึ่งหนึ่ง นมร้อนครึ่งหนึ่งราดด้วยฟองนมที่ตีจนขึ้น คือกาแฟใส่นมแก้วจะใหญ่ ใครชอบนมเยอะๆ กาแฟไม่แก่มากนักถ้วยนี้เหมาะค่ะ ส่วนมากแถบเวียนนาจะเรียก เมล้องช์ แถบอื่นๆจะเรียก กาแฟใส่นม Milchkaffee

 

การดื่มกาแฟของชาวอิตาลี

            ทางอิตาลีนิยมดื่มเอสเพรสโซร้อน(ต้องย้ำว่าร้อน เพราะบ้านเราทานแต่เย็น) ทานกันคนละ 4-5 แก้ว คล้ายๆเหล้า แก้วต่อแก้วเลย เพราะที่นั้นไม่ได้ใช้เมล็ดกาแฟคั่วเข้มหรือไหม้เหมือนบ้านเรา จึงไม่ขม ทานได้เรื่อยๆ ยืนจิบกันหน้าเคาน์เตอร์ (ที่นั่นไม่ค่อยมีที่นั่งมากเหมือนบ้านเรา คนก็เยอะมาก) 
           

             ชาวตะวันตกนิยมดื่มคาปูชิโนหรือลาเต้ในช่วงเช้า พร้อมอาหารเช้าหรือหลังอาหารเช้า เพราะมีส่วนผสมของนม ทานง่ายไม่เข้มเกินไปสำหรับช่วงเช้าๆอากาศดีๆ แล้วพอทานื้อเที่ยงเสร็จก็จะทานพวกกาแฟดำหรือเอสเพรสโซไปเลย เพื่อช่วยย่อยอาหาร   ตอนบ่ายก็จิบชากับขนม ตอนเย็นมื้อเย็นก็ยังทานกาแฟเพื่อช่วยย่อยอีกเช่นกันและรวมถึงการดื่มไวน์ด้วยเช่นกันก็มักจะทานหลังมื้อหรือระหว่างมื้ออาหารเลยไม่มีการดื่มกาแฟเพื่อแก้ง่วงเหมือนบ้านเรา จะมีบ้างแล้วแต่กรณีที่ดื่มกาแฟเพื่อแก้ง่วง ต้องดูวัฒนธรรมของแต่ละที่ด้วย คือมันเหมือนเครื่องดื่มที่ดื่มไปคุยไป ดื่มไปทำงานไป ดื่มไปพักผ่อนไป เหมือนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

           ชาวตะวันตกจึงนิยมดื่มกาแฟที่คาเฟ่ ( Cafe’) คือมีกาแฟ แอลกอฮอล์  บุหรี่  อาหาร  ไม่ใช่คาเฟ่บ้านเราที่มี เฉพาะกลางคืน  มีตลกประมาณนั้น  จึงเกิดเป็นสังคมของกลุ่มคนขึ้น เป็นที่นัดพบ เป็นที่พบปะสังสรรค์ พูดคุย เจรจาธุระ พักผ่อน อ่านหนังสือ สบายๆไม่เป็นทางการมากนัก 


      ถ้าเป็นร้านกาแฟเฉพาะก็อาจจะมีโรงคั่วกาแฟอยู่ด้านหลังด้วย คือคั่วกาแฟมาขายหน้าร้านเป็นถุงๆ และขายเป็นเครื่องดื่มด้วย พวกนี้จะมีกาแฟที่ดีเป็นพิเศษ หาได้ยาก อร่อยมากๆ แต่อาจจะออกแนวอินดี้หน่อย คือต้องเป็นคอกาแฟจริงๆ เพราะถือเป็นศิลปะเลยทีเดียว พิถีพิถันในการทำมากๆ ชงด้วยบาริสต้า (คนชงกาแฟ) ชงด้วยเครื่องกาแฟที่ดีมากๆ(แพงมากๆด้วย) ด้วยเครื่องบดชั้นเลิศ 2-3 เครื่องเพื่อเมล็ดกาแฟหลายๆตัว มีเมล็ดกาแฟให้เลือกมาก         

                  ฝรั่งค่อนข้างให้ความสำคัญกับทุกๆ  ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำกาแฟที่ดี ตั้งแต่ใช้เมล็ดกาแฟที่ดีหลากหลาย เครื่องชงที่ดี ทำช็อตกาแฟได้ดี สตรีมนมได้เนียน อุณหภูมิเสถียร ใช้เครื่องบดที่ดี เพื่อให้ผงกาแฟที่ได้มีคุณภาพ  ได้ผงที่มีลักษณะดีไม่เกาะกันเป็นก้อน   ทำงานต่อเนื่องได้มากๆ   และบาริสต้าที่เก่งมากๆ พอลูกค้าเห็นอุปกรณ์ต่างๆก็เชื่อมั่นว่าจะได้กาแฟที่ดีมาดื่ม 
                 คนไทยนิยมดื่มกาแฟเย็น เข้มข้นหวานมัน ถอดแบบพฤติกรรมมาจากกาแฟโบราณ ต้องมีนมข้นหวาน ทั้งที่กินแล้วอ้วน โรคภัยเยอะ แต่ฝรั่งนิยมกาแฟที่ไม่ปรุงแต่งมากไป กาแฟดำก็ไม่เติมน้ำตาล   กาแฟนมก็ไม่เติมน้ำตาลเพราะได้ความหวานจากนมอยู่แล้ว
                 พูดไปพูดมาก็เพียงเพื่อบอกว่า   ร้านคลิมคอฟฟี่พยายามที่จะลูกค้าได้ดื่มกาแฟดีๆ ชงด้วยเครื่องกาแฟดีๆ บดผ่านเครื่องบดดีๆ   ใช้เมล็ดกาแฟดีๆ เหมือนท่านได้ไปดื่มกาแฟที่อิตาลี   ฝรั่งเศส หรืออเมริกา ให้ท่านได้รับประสบการณ์เหมือนอยู่เมืองนอก แม้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ก็ตั้งใจจริง  จึงอยากให้ลูกค้าได้เห็นความตั้งใจ และความแตกต่างจากที่อื่นๆในจังหวัด ซึ่งถ้าเป็นความตั้งใจ และการลงทุนระดับนี้ ราคาระดับนี้อาจดูต่ำเกินความเป็นจริง แต่ความเป็นจริงคือหลายคนไม่รู้ การตั้งราคาสูงตามความเป็นจริงก็อาจทำให้ร้านอยู่ไม่นานก็ได้

 

การดื่มกาแฟของคนไทย

             กาแฟเข้ามาในบ้านเราได้ยังไง สำหรับในบ้านเรายังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า กาแฟถูกนำเข้ามาเพาะปลูกในประเทศไทยเมื่อใด แต่ได้รับความนิยมตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและเป็นที่นิยม มากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 หลังจากที่ได้มีนักเรียนไทยไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ และนำวัฒนธรรมการดื่มกาแฟกลับมาเมื่อจบการศึกษา ว่ากันว่า มีการพบต้นกาแฟรุ่นแรกพันธุ์โรบัสตา ซึ่งนำพันธุ์มาจากเมืองเมกกะ โดยนายตี้หมุน ชาวไทยอิสลามนำกลับมา หลังจากการเดินทางไปแสวงบุญ โดยนำมาปลูกที่ตำบลบ้านโหนดอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประมาณอายุได้ว่า นำเข้ามาปลูกเมื่อประมาณ      พ.ศ.2447 ส่วนกาแฟในภาคตะวันออก สันนิษฐานว่า พระในนิกายแคทอลิกจากเวียดนามใต้เป็นผู้นำเข้ามาปลูก ส่วนในภาคเหนือ อาจจะนำเข้ามาจากพม่าด้าน แม่สาย จากนั้นจึงกระจายไปทั่วประเทศ นับว่ากาแฟมีการเดินทางที่ไกลมากข้ามมาจากอีกซีกโลกหนึ่งเลยทีเดียว

                                                                 วัฒนธรรม กาแฟเมืองตรัง

                                   

                คนตรังเป็นคนช่างกิน คงไม่ใช่คำกล่าวที่เกินเลยไป  ชาวตรังสนใจการกิน  การอยู่   ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ดี เงินทองคล่องมือ จึงจับจ่ายใช้เก่ง ผู้ที่มาเยือนจึงได้ยินชื่อเสียงด้านการกินอยู่ ไม่มีถนนสายไหน ที่ไม่มีร้านกาแฟและร้านอาหาร ถนนทุกสายจึงเน้นเรื่องกินเข้าว่า พูดไปจะหาว่าโม้ คนตรังกิน 5-6 มื้อในแต่ละวัน เริ่มตั้งแต่เช้า สาย บ่าย เย็น ค่ำและดึก คนตรังจึงกินจริง – กินจัง
               ร้าน “โกปี๊” ชื่อสำเนียงจีนปนปักษ์ใต้โดยนัยคือร้านกาแฟ แต่ที่มากกว่านั้น คือเป็นร้านแบบพันธุ์ทาง ที่จะขายกาแฟเป็นหลักและมีอาหารหนักทั้งบะหมี่ โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยว ข้าวและติ่มซำ ประกอบอยู่ในร้านเดียวกัน ความพิเศษของร้านกาแฟในเมืองตรังก็คือ มีขนมและเครื่องเคียงมากมาย ถ้าคุณสั่งกาแฟแก้วเดียว อาหารอื่นๆ  จะระดมมาเต็มโต๊ะ ตั้งแต่ขนมจีบ ซาลาเปา ขนมประเภทนึ่งทอดปิ้ง ปาท่องโก๋ และที่ขาดไม่ได้คือ หมูย่างรถเด็ด หลายๆ คนงงกับสูตรการกินแบบนี้ กาแฟกับหมูย่างเข้ากันได้อย่างไร ผมก็ตอบไม่ถูก  ได้แต่บอกว่าให้ลองดูแล้วจึงจะติดใจ หลายๆ คนก็แปลกใจอีกนั่นแหละที่บอกว่าไม่ได้สั่ง แต่ทำไมของยังมากันเพียบ คุณกินเท่าไหร่ เขาก็คิดราคาเท่านั้น
            พูดถึงหมูย่างตรังในอดีตใช่จะหากันกินได้ง่ายๆ อย่างทุกวันนี้ ด้วยเพราะแตกต่างจากหมูหันหรือหมูอบอย่างสิ้นเชิง หมูย่างตรังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  หนังกรอบ รสชาติดีเยี่ยม  มีกลิ่นเครื่องเทศและสมุนไพรเจืออยู่บางเบา กรรมวิธียุ่งยากและซับซ้อน ใช้หมูขนาดเล็กคือ  30-40 กก.  ย่าง อบ ด้วยความร้อนสูงทั้งตัว จนน้ำหนักหาย ไปกว่าครึ่ง หมูย่างไม่ใช่จะอยู่แต่ตามร้านกาแฟอย่างเดียว  แต่กลับไปขึ้นโต๊ะตามงานต่างๆ  ทั้งงานแต่ง  งานตรุษ งานเลี้ยงแขกพิเศษ ไปจนถึงงานอวมงคลเช่นงานศพ ใครต่างก็ต้องการที่จะมาชิม จนจังหวัดต้องจัดเทศกาลให้ทุกปลายเดือน           

             ถ้าวัฒนธรรม   หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ที่เกิดจากอาหารการกิน ก็คงจะเอามาอธิบายวัฒนธรรมทางการกินของคนตรังได้   เพราะชาวตรังมีชาวจีนเข้ามาลงหลักปักฐาน ในเมืองไทยมากมาย การกินหลายมื้อของคนจีน  เป็นผลมาจากการเพาะบ่มทางวัฒนธรรมของคนจีนในเมืองตรังยุคบุกเบิกด้วยความที่เป็นกลุ่มคนจีนที่มาจากดินแดนโพ้นทะเล ร้านกาแฟ ได้กลายเป็นที่รวมกลุ่ม ปรึกษา หารือ เกื้อกูลกัน จากเคยจิบชาก็เปลี่ยนมาเป็นกาแฟ มีขนมนมเนยเป็นเครื่องเคียง  ความห่วงใยในสวัสดิภาพของผู้เป็นชนกลุ่มน้อยจึงมีสูง ทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันบ่อยๆ  ตั้งแต่เช้า  สาย  บ่าย เย็น ดึกดื่น    ก็ยังหาอุบายพบปะกันอยู่ จนกลายมาเป็นวัฒนธรรมกาแฟในวันนี้  ซึ่งลูกหลานในปัจจุบันอาจจะไม่เคยรู้เลยว่า  การมาพบหน้ากันวันละหลายๆรอบมีที่มาอย่างไร แต่ที่แน่ๆมันได้กลายเป็นลักษณะเฉพาะและเป็นวิถีชีวิตที่มีสีสัน ต่อผู้ที่สนใจต่อวัฒนธรรมศึกษาอย่างยิ่ง

             กาแฟมื้อดึกมรดกวัฒนธรรมเมืองชายฝั่งทะเล
ค่ำนี้ผมออกมาร้านกาแฟกับเพื่อนเก่า เรื่องราวเก่าๆ เรียงรายมาให้ครุ่นคิด ผู้คนมากมายจนผมสงสัยว่า เดี๋ยวนี้คนตรังกินกาแฟดึกขนาดนี้แล้วหรือ ผมจึงได้คำอธิบายจากเพื่อนรักว่า วัฒนธรรมนี้น่าจะมาจากคน  กันตัง  ซึ่งกันตังอดีตอำเภอเมือง ในยุคการค้าขาย เรือเดินทะเลยังคึกคัก ชาวจีนจำนวนมาก ที่เข้ามาทำมาหากินกับท่าเรือแห่งนี้ ได้ก่อร่างวัฒนธรรมการกินมื้อดึก อันมีผลมาจากการเฝ้ารอเรือเข้าเทียบท่า ขนถ่ายสินค้าและค้าขาย   จับจ่ายกันตลอดคืน ร้านกาแฟจึงเติบโตตามด้วยมุ่งบริการผู้มีภาระค้าขายในเมืองท่าแห่งนี้ เมืองกันตังในอดีตจึงคึกคักตลอดทั้งคืน

             เห็นอะไรในร้านกาแฟ
สิ่งที่นักวิชาการด้านการสื่อสาร น่าจะลองศึกษากันดูในร้านโกปี๊ที่เมืองตรัง คือ การบอกข่าวแบบคลาสสิคที่ทรงประสิทธิภาพมากก็คือ ใบปิดประกาศงานศพ ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในร้านกาแฟ ในทัศนะของผมมองว่ามัน  คือบัตรเชิญที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ ที่ได้บรรจุข้อความ ชื่อของผู้ตาย อายุเท่าไหร่ ตายด้วยสาเหตุใด ใครเป็นญาติก็บรรจุไว้หมด และจะไม่ส่งไปยังบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ข่าวนี้จะกระจายไปพร้อมกับผู้ที่มาร้านกาแฟ  มันจึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เชื่อมเข้ากับสื่อบุคคลได้ดีมาก
             ความต่างนี้ได้ซ่อนเร้นคุณค่าทางวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรังโดยแท้ จากข้อมูลที่พอมีอยู่ คะเนได้ว่า  จุดเริ่มต้นของแผ่นพิมพ์ประกาศงานฌาปนกิจ น่าจะเริ่มจากชาวจีนยุคแรกในเมืองตรัง   ที่ประกอบอาชีพค้าขายกับปลูกผัก ด้วยความเป็นเชื้อชาติพลัดบ้านเมืองจากโพ้นทะเล ทำให้คนจีนทั้งสองอาชีพ ต้องพบปะกันหรือส่งข้อความข่าวคราวถึงกัน ยิ่งมีการตายเกิดขึ้น ยิ่งต้องส่งข่าวหากันมากขึ้น  คล้ายกับว่าเป็นเสมือนญาติพี่น้องกัน ด้วยอาชีพที่ดิ้นรน การไปบอกด้วยตัวเองเป็นเรื่องยาก การบอกกล่าวจึงใช้การเขียนเรื่องราวปิดไว้ที่ร้านกาแฟ