RSS

Category Archives: ความรู้ทั่วไปเรื่องกาแฟ

พันธุ์กาแฟ

 

            กาแฟมีมากกว่า 6,000 พันธุ์ แต่พันธุ์หลัก ๆ ที่ได้รับความนิยมมี 2 พันธุ์ ได้แก่ อาราบิก้า (Arabica) ซึ่งเป็นกาแฟแบบดั้งเดิม มีรสชาติดี และโรบัสต้า (Robusta) ซึ่งมีปริมาณกาเฟอีนสูง และสามารถปลูกในที่ที่ปลูกอาราบิก้าไม่ได้ (คำว่า robust ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ทนทาน) ด้วยความที่มีความทนทานมากกว่านี้เอง จึงทำให้กาแฟโรบัสต้ามีราคาถูกกว่า แต่ผู้คนนิยมดื่มไม่มากนักเนื่องจากมีรสขมและเปรี้ยว ส่วนโรบัสต้าที่มีคุณภาพดีมักถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของเอสเพรสโซ่ แบบผสม (เอสเพรสโซ่มีสองแบบใหญ่ ๆ คือแบบที่เป็นอาราบิก้าแท้ ๆ กับแบบที่ผสมกาแฟชนิดอื่น ๆ)

        กาแฟอาราบิก้า(Arabica)


             ประเทศไทยสามารถปลูกไร่กาแฟอาราบิก้าได้ทาง ภาคเหนือโดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง,  แม่ฮ่องสอนและตากกาแฟพันธุ์อาราบิก้าเจริญเติบโตที่บริเวณที่ราบสูงประมาณ  800   ถึง   1, 500 เมตร  ที่ความสูงระดับนี้  จะมีผลให้กาแฟเจริญเติบโตไปอย่างช้าๆ  ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟที่มีรสชาติดีกว่าได้    ในจำนวน   มาก  การเพาะกาแฟพันธุ์อาราบิก้าในประเทศไทยยังอยู่ในขั้นทดลองจึงไม่สามารถทำการเก็บเกี่ยวผลิตผลต่อปีได้มากนัก     ส่วนใหญ่แล้วผู้เพาะปลูกกาแฟอาราบิก้าพันธุ์ไทย คือ  เจ้าของไร่รายย่อยเช่นครอบครัวชาวเขาและชาวบ้านเช่นเดียวกับ ที่สถานีทดลอง  เช่น วาวีและช้างเขียนอีกทั้งยัง  มีโครงการพัฒนาอีกมากมายเมล็ดกาแฟจำนวน  200 – 300 ตันที่เก็บเกี่ยวได้ต่อปีถูกรับซื้อไป   โดยพ่อค้าในท้องถิ่น และจากโรงงานเพื่อผลิตเป็นกาแฟเม็ดอบและกาแฟผงต่อไป

        กาแฟโรบัสต้า(Robusta)


             ไร่กาแฟโรบัสต้าตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี,ชุมพร,ระนอง, นครศรีธรรมราช, พังงา, และกระบี่กาแฟโรบัสตาเติบโตได้ดีในที่ราบต่ำ  กาแฟพันธุ์นี้ให้ข้อดีแก่ผู้เพาะปลูกมากมายเช่น ต้นกาแฟโรบัสต้าสามารเพาะปลูกได้ง่าย, มีความต้านทานต่อการติดเชื้อสูง, สามารถที่จะทนต่อุณหภูมิและระดับความชื้นที่สูง อีกทั้งพันธ์โรบัสตายังให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟมากกว่า และผลของมันยังสุกเร็วกว่าเมื่อเทียบกับพันธุ์อาราบิก้า อย่างไรก็ตามเมล็ดกาแฟพันธ์โรบัสตา เมื่อพิจารณาแล้วจะมีคุณภาพต่ำกว่าพันธุ์อาราบิก้าและมีราคาถูกกว่าอีกด้วยกาแฟโรบัสตาพันธุ์ไทยเป็นชนิดที่มีคุณภาพดีและมีการยอมรับอย่างกว้างขวางในนานาชาติ ตลาดส่งออกหลักของเราคือสหรัฐอเมริกา, โซนยุโรป, ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ในตลาดท้องถิ่น กาแฟโรบัสต้าได้ผ่านการแปรรูปเป็นเครื่องดื่มกาแฟกระป๋องหรือกาแฟสำเร็จรูปชนิดผงเสียส่วนใหญ่ ด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม และเทคโนโลยีการเผาเมล็ดกาแฟแบบใหม่ช่วยให้นักชิม และนักเผาเมล็ดกาแฟสามารถทำให้กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทย เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อมและมีคุณภาพดีได้

 

วิวัฒนาการกาแฟไทย

กาแฟเป็นพืชที่มีที่มาจากทางเขตร้อนชื้นในแอฟริกา จากนั้นกาแฟได้แพร่หลายไปยังประเทศเขตร้อนชื้นต่างๆ
ทั่วโลกและในศตวรรษที่ 17และ18 เป็นปีที่กาแฟได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และอินเดียตะวันตกเป็นครั้งแรก  อุตสาหกรรมกาแฟในประเทศไทยนั้นจะว่าไปแล้วยังถือว่าใหม่อยู่มาก
ตามสถิติของทางราชการ เนื้อที่แปลงเพาะปลูกกาแฟทั้งหมดภายในปี 1960 มีเพียงแค่ 19, 000 ไร่
(หรือประมาณ 7,600 เอเคอร์) และผลิตกาแฟได้เพียง 750 ตัน แต่ภายในปีเดียวกันนั้นเองประเทศไทย
ต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์พืชผลกาแฟเกือบจะ 6,000 ตัน เพื่อเป็นการปรับดุลย์การค้ารัฐบาลไทยได้ตั้ง
โครงการรณรงค์และสนับสนุนกาแฟโรบัสตาที่ปลูกได้ทางภาคใต้ซึ่งได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี

โครงการนี้มีการผูกพันเกี่ยวเนื่องต่อไปในอนาคตเมื่อการปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น กลายเป็นโครงการของ
รัฐบาลอย่างเป็นทางการในปี 1970เมื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ
สมเด็จพระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ อีกทั้งยังมีองค์การสหประชาชาติและองค์การทั้งภาคเอกชน
และรัฐบาลอื่นๆอีกมากมายที่ให้การสนับสนุนชาวไร่ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในเขตสามเหลี่ยมทองคำและตามแนวเขต
แดนพม่าและลาวจึงเริ่มหันมาสนใจปลูกกาแฟพันธุ์อราบิกากัน

ประเทศไทยเป็นชาติ ที่มีกาแฟเป็นสินค้าออกอย่างเป็นทางการในปี 1976 เราส่งกาแฟโรบัสต้ากว่า 850 ตัน
ออกขายในตลาดโลก ในช่วงปี 1980 ราคาในตลาดโลกมีความแข็งแกร่ง จึงช่วยให้การส่งออกมีการเติบโต
ไปในทิศทางที่ดี ในปีต่อมาและถึงจุดสูงสุดในช่วง ปี 1991-1992 ที่อัตรา 60, 000 ตัน ความล้มเหลวของ
“สัญญากาแฟสากล”ในเดือนกรกฎาคมปี 1989 และภาวะราคากาแฟโลกที่ตกต่ำจากผลผลิตที่ล้นตลาดมีผลกระทบ
ที่รุนแรงต่อชาวไร่กาแฟอย่างรุนแรง

รัฐบาลไทยต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างกระทันหัน เมื่อเผชิญหน้ากับ   สถานการณ์การคุกคามของการมีอัตราการ
เสนอขายที่มากกว่าความต้องการซื้อจนเกินไปและเริ่มลดกำลังผลิตภายใต้แผนห้าปี(1992-1997) ให้ชาวไร่กาแฟ
เปลี่ยนไปปลูกพืชผลอย่างอื่น เนื่องจากพยายามที่จะลดเนื้อที่ในการเพาะปลูกกาแฟ จากที่เกือบจะถึง 500,000ไร่
(หรือประมาณ 200, 000 เอเคอร์)

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเทศไทยในแง่มุมเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ
ประเทศไทยสามารถปลูกกาแฟได้เป็นอันดับที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(รองจากอินโดนีเซีย และเวียดนาม)
มีพันธุ์กาแฟมากมายในโลกแต่มีเพียงสองสายพันธุ์เท่านั้นที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด ซึ่งได้แก่พันธุ์อราบิก้า
และโรบัสต้า ทั้งสองพันธุ์นี้สามารถปลูกได้ในประเทศไทย

จำนวนโดยประมาณที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้ในปัจจุบัน :
–   กาแฟโรบัสต้า 80,000 ตัน จำนวน 40% เป็นวัตถุดิบใช้ภายในประเทศ (จำนวน30,000 ตัน)
และส่งออกประมาณ 60% (จำนวน 50,000 ตัน)
–   กาแฟอราบิก้าจำนวนสองถึงสามร้อยตันซึ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตเกือบทุกขั้นตอนภายในประเทศ

กาแฟโรบัสต้าของไทย
ไร่กาแฟโรบัสต้าตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ชุมพร, ระนอง,
นครศรีธรรมราช, พังงาและกระบี่ กาแฟโรบัสต้าสามารถปลูกได้ดีในที่ราบต่ำ กาแฟพันธุ์นี้ให้ข้อดีแก่ผู้เพาะปลูก
มากมาย เช่น ต้นกาแฟโรบัสต้าสามารถเพาะปลูกได้ง่าย มีความต้านทานสูงต่อการติดเชื้อ สามารถที่จะทนต่อ
อุณหภูมิ และระดับความชื้นที่สูง อีกทั้งพันธุ์โรบัสต้ายังให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟมากกว่า และผลของมันยังสุกเร็วกว่า
เมื่อเทียบกับพันธุ์อราบิก้า อย่างไรก็ตามเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าเมื่อพิจารณาแล้วจะมีคุณภาพต่ำกว่าพันธ์อราบิก้า
และมีราคาถูกกว่าอีกด้วย
กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยเป็นชนิดที่มีคุณภาพดี และมีการยอมรับอย่างกว้างขวางในนานาชาติตลาดส่งออกหลัก
ของเราคือสหรัฐอเมริกา, แถบยุโรป, ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ในตลาดท้องถิ่น กาแฟโรบัสต้าได้ผ่านการแปรรูปเป็น
เครื่องดื่มกาแฟกระป๋อง หรือกาแฟสำเร็จรูปชนิดผงเสียส่วนใหญ่ ด้วยกรรมวิธี และเทคโนโลยีการการคั่วกาแฟ
แบบใหม่ในปัจจุบันสามารถทำให้กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยเป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อม และมีคุณภาพดีได้

กาแฟอราบิก้าของไทย
ไทยสามารถปลูกไร่กาแฟอราบิก้าได้ทางภาคเหนือโดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง,แม่ฮ่องสอน
และตาก กาแฟพันธุ์อราบิก้าเจริญเติบโตที่บริเวณที่ราบสูงประมาณ 800 ถึง 1,500 เมตร ที่ความสูงระดับนี้จะมีผล
ให้กาแฟเจริญเติบโตไปอย่างช้าๆ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟที่มีรสชาติดี การเพาะปลูกกาแฟพันธุ์อราบิก้า
ในประเทศไทยยังอยู่ในขั้นทดลองจึงไม่สามารถทำการเก็บเกี่ยวผลิตผลต่อปีได้มากนักส่วนใหญ่แล้วผู้เพาะปลูกกาแฟ
อราบิก้าพันธุ์ไทยคือเจ้าของไร่รายย่อยเช่น ครอบครัวชาวเขา และชาวบ้านเช่นเดียวกับที่สถานีทดลองเช่น วาวี
และช้างเขียน อีกทั้งยังมีโครงการพัฒนาอีกมากมาย เมล็ดกาแฟจำนวนสองถึงสามร้อยตันที่เก็บเกี่ยวได้ต่อปีโดยพ่อค้า
ในท้องถิ่น และจากโรงงานเพื่อผลิตเป็นกาแฟเม็ดอบ และกาแฟผงต่อไป

โอเลี้ยง – เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมายาวนาน
เมื่อพูดถึง”กาแฟไทย” แล้วคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงโอเลี้ยง..ดำๆนี้เกือบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของกาแฟไทย
ไปแล้วแต่ในความจริงนั้นความหมายของคำว่า โอเลี้ยงบ่งบอกถึงความเป็นเครื่องดื่มชนิดหวานมากกว่าเครื่องดื่ม
ประเภทกาแฟ ซึ่งตรงกันข้ามกับความเชื่อของคนทั้งหลายโดยสิ้นเชิง ปกติแล้วโอเลี้ยงมีส่วนผสมของกาแฟไม่ถึง
25% และส่วนผสมส่วนใหญ่คือน้ำตาล(ประมาณ 40-50%) นอกจากนั้นยังมีส่วนผสมอื่นๆที่เป็น”สิ่งที่ใช้แทนกาแฟ”
อาทิเช่น งา ข้าวโพด และถั่วเหลือง

การบริโภคกาแฟ
แม้ว่าการดื่มกาแฟจะเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น อัตราการบริโภคกาแฟในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำมาก
กล่าวคือที่น้อยกว่าครึ่งกิโลกรัมต่อคนต่อปี (ในขณะที่ประเทศฟินแลนด์อัตราโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14 กิโลกรัม เยอรมันนี
8 กิโลกรัม อิตาลี 5 กิโลกรัม สหรัฐอเมริกา 4.5 กิโลกรัม และญี่ปุ่น 2.5 กิโลกรัม) การคาดคะเนอัตราการเติบโต
ของการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟอยู่ระหว่าง 20-30% ต่อปี ผู้บริโภคนิยมดื่มกาแฟร้อนจากกาแฟสำเร็จ
ไปและนิยมดื่มแบบเย็นจากกระป๋องส่วนกาแฟที่ชงจากเครื่องชงกาแฟ ส่วนใหญ่จะอยู่ตามโรงแรม ภัตตาคาร ผับ
สโมสร และร้านขายอาหาร และเครื่องดื่ม

ก้าวไปข้างหน้าสู่อนาคต
ประเทศไทยมีศักยภาพมากพอที่จะเสริมจุดยืนของตนเองให้เข้มแข็งในตลาดกาแฟโลก ผลจากการทดลองใน
สถานีวิจัยทางภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทยพบว่าเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิก้า และโรบัสต้าคุณภาพสูง
สามารถเพาะปลูกได้อย่างดี หากได้รับการจัดการดูแลที่เหมาะสมจากรายงานตลาดกาแฟโลกปี1993
สถาบันราโบแบงค์แห่งเนเธอร์แลนด์ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมกล่าวไว้ว่า
“ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม และประเทศไทยมีโอกาสดีที่จะเป็นประเทศผลิตกาแฟ
เป็นสินค้าออกเพราะมีต้นทุนในการผลิตต่ำ”

เมื่อกำแพงปิดกั้นทางการค้าทลายลง ตลาดก็เริ่มมีสัญญาณเตือนถึงอันตรายอันเนื่องมาจากกาแฟสมัยใหม่
รูปแบบต่างๆที่นำเข้ามาจากต่างประเทศได้ทะลักเข้าไทย ดังนั้นจึงทำให้ตลาดกาแฟไทยต้องพบกับความท้าทาย
ใหม่สองประการประการแรกเราต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพการที่เกิดขึ้น และประการที่สองคือเราต้องเร่งสร้าง
ภาพพจน์ที่ดีของกาแฟไทยท่ามกลางตลาดท้องถิ่น และในสากล

 
 

วิวัฒนาการกาแฟ

กาแฟ นับจากอดีตที่มนุษย์รู้จักนำกาแฟจากป่ามาบริโภค ซึ่งแรกๆมนุษย์น่าจะนำกาแฟมาบริโภค
ในทางยามากกว่าสมัยดึกดำบบรรพ์มนุษย์อยู่กับป่าเขามาตลอด จึงรู้ถึงคุณค่าของต้นไม้ใบไม้แต่ละชนิดดี
รวมทั้งนำต้นไม้เหล่านี้มาใช้ในทางยา ซึ่งอาจจะใช้ใบ ผล หรือราก กิ่งก้านต่างๆ ซึ่งทุกส่วนมีประโยชน์ทั้งสิ้น
แต่สำหรับกาแฟ ซึ่งเป็นพืชป่ามาก่อน   เชื่อกันว่าแรกๆนำมาใช้บำบัดการเจ็บป่วย ช่วยลดอาการเจ็บลงได้
รวมถึงการนำกาแฟไปใช้ในการห้ามเลือดและอื่นๆ

หลังจากที่ความเจริญเข้ามาครอบงำมนุษย์ กาแฟก็ได้เวลานำมาปลูกเป็นกิจลักษณะตามความนิยม
จนกลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจของโลกไปแล้ว ในแต่ละปีคนทั้งโลกบริโภคกาแฟหลายแสนตัน การปลูกกาแฟ
ก็เริ่มนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนาให้ได้กาแฟที่ให้ผลผลิตและคุณภาพสูง การคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม
การคัดเลือกสายพันธุ์ของกาแฟ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เกี่ยวของกับคุณภาพของกาแฟทั้งสิ้น กาแฟถูกนำไปทำ
เป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิดแต่ส่วนมากจะอยู่ในรูปของเครื่องดื่ม ซึ่งมีส่วนผสมของกาแฟมากบ้างน้อยบ้างตาม
ความต้องการของผู้ผลิต

สมัยก่อนจะมีร้านขายกาแฟโดยเฉพาะ ซึ่งร้านกาแฟเหล่านี้จะเป็นแหล่งรวมผู้คนที่นิยมในรสชาดของกาแฟ
โดยเฉพาะหรือไม่ก็เป็นที่พบปะหรือเสวนากันโดยมีกาแฟเป็นสื่อกลาง จากอดีตจนถึงปัจจุบันความนิยมในกาแฟ
ก็ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง แต่ในทางตรงกันข้ามความนิยมในกาแฟกลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้โลกจะเปลี่ยนไปจากอดีตก็ตาม
แต่กาแฟก็ไม่ได้เปลี่ยนตาม เพียงแต่กาแฟพัฒนาการตามการดื่มและวิธีการดื่มของผู้คนเท่านั้น จากเมื่อก่อนถ้า
จะดื่มกาแฟก็ต้องบดกันแบบสดๆเลย คั่วแบบสดๆ ทุกขั้นตอนทำในขณะนั้นเลย แต่ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนรูปแบบไป
กาแฟได้ถูกแปรรูปแบบไปเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น กาแฟสำเร็จรูป กาแฟพร้อมดื่มบรรจุกล่อง กาแฟผง กาแฟผสม
กาแฟร้อน กาแฟเย็น กาแฟรสต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นการประยุกต์กาแฟให้เข้ากับยุคสมัยโลกเจริญการนำกาแฟไปเป็น
ส่วนผสมของอาหารบางชนิดหรือผลิตภัณฑ์บางชนิด กานำกาแฟไปเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มประเภทชูกำลัง
ซึ่งกำลังได้รับความนิยมสูง กาแฟยังสามารถพัฒนาการไปได้อีกมากมาย ดังนั้นเราจะเห็นว่าเส้นทางเดินของกาแฟ
จากอดีตถึงปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก มีการนำกาแฟมาสร้างประโยชน์ได้หลากหลายอย่าง กาแฟสร้างทั้งเงินมหาศาลและ
งานให้กับมนุษย์ สร้างความพึงพอใจ สร้างสังคมสัมพันธภาพอันดีให้กับมนุษย์ชาติ จะเห็นว่าไม่มีแม้แต่วันเดียวเลย
ที่มนุษย์ไม่บริโภคกาแฟ ซึ่งไม่ทางตรงคือการดื่มกาแฟทั่วๆไป หรือไม่ก็ทางอ้อมซึ่งมีกาแฟเป็นส่วนผสมอยู่
ดังนั้นจะเห็นว่าเราสัมผัสกาแฟอยู่ตลอดเวลาของการดำรงชีวิตไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ถึงแม้บางท่านจะไม่ชอบกาแฟ
แต่สักวันก็ต้องได้บริโภคกาแฟโดยไม่รู้ตัว เหตุเพราะกาแฟเข้าไปเป็นส่วนผสมอยู่ในหลากหลายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
จะเห็นว่ากาแฟให้ประโยชน์อย่างมหาศาลกับมนุษย์นอกจากประโยชน์และรสชาดที่มีอยู่ในตัว ยังสร้างงาน สร้างเงิน
และอื่นๆอีกมากมายหลายอย่าง

ดังนั้น กาแฟ จึงถูกยกให้เป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ที่สร้างรายได้ให้กับโลกมนุษย์แบบไม่มีที่สิ้นสุดและ
ไม่มีวันหมด และนับวันจะสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆตามสมัยนิยมของคนรุ่นใหม่ ที่มีการนำกาแฟไปประยุกต์เป็น
รูปแบบต่างๆออกไป เพื่อพัฒนาการให้สอดคล้องกับยุคสมัยใหม่ ความนิยมในกาแฟนับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จากอดีตสู่ปัจจุบัน และในอนาคตต่อไปอีกชั่วนิรันดร์…

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มีนาคม 30, 2011 นิ้ว วิวัฒนาการกาแฟ

 

ตำนานกาแฟ


ตำนานที่น่าเชื่อถือและนิยมใช้อ้างอิงมากที่สุดคือเรื่องของนาย”คาลดี” (Kaldi) คนเลี้ยงแพะผู้ที่น่าจะดำรงชีวิตอยู่ในช่วง
ปี ค.ศ. 600 – 800 แถบอัฟริกาตะวันออกหรือแถบเอธิโอเปียในปัจจุบันนี้

เรื่องมีอยู่ว่า นายคาลดีผู้โดดเดี่ยวค้นพบว่าค่ำคืนหนี่งเขาสังเกตเห็นแพะที่เขาเลี้ยงไว้เกิดมีอาการตื่น กระโดด และคึกคัก
เป็นพิเศษหลังจากที่พวกมันได้กินผลไม้สีแดงชนิดหนึ่งที่บริเวณราวป่า เมื่อได้ลองกินเจ้าผลไม้นี้บ้างเขาก็พบว่ามันทำให้
เขารู้สึกว่ามีพลังมากขึ้นและไม่รู้สึกง่วง คาลดีได้แนะนำให้นักบวชในโบสถ์ในละแวกนั้นได้รู้จักกับเจ้าพืชชนิดนี้

นักบวช เมื่อได้ยินเรื่องดังกล่าวจากคาลดี ก็ปรารถนาจะลองกินผลไม้นี้ดูบ้าง จึงได้ลองบิเมล็ดออกใส่ลง
ปนในแป้งและเทน้ำเดือดลงทำเป็นเครื่องดื่ม(ซุป)  ก็ได้รับผลอันน่าตื่นเต้นเช่นเดียวกัน จึงได้นำออกเผยแพร่
ในหมู่นักบวชด้วยกันเพราะมันช่วยให้เหล่านักบวชตื่นตัวในขณะที่อยู่ในชั่วโมงสวดอันยาวนาน หลังจากนั้น
การดื่มกาแฟก็เป็นที่แพร่หลายไปทั่วในหมู่นักบวชชาวมูสลิมที่บอกต่อกันโบสถ์ต่อโบสถ์ จากอินเดียสู่อัฟริกาเหนือ
ตลอดจนดินแดนเมดิเตอเรเนียนตะวันออก จนกล่าวได้ว่า ศาสนาอิสลามเผยแผร่ไปที่ไหนก็จะมีวัฒนธรรม
การดื่มกาแฟที่นั่น

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มีนาคม 30, 2011 นิ้ว ตำนานกาแฟ

 

ประวัติของกาแฟ

สันนิษฐานกันว่าต้นกาแฟมีกำเนิดในจังหวัดคาฟฟา (Kaffa) หรือในบริเวณที่รู้จักในปัจจุบันคือเอธิโอเปีย(Ethiopia) ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ระบุชัดว่า มนุษยชาติค้นพบเมล็ดพืชชนิดนี้เมื่อไรหรืออย่างไร หรือรู้จักวิธีการชงเมล็ดกาแฟเหล่านี้ได้อย่างไร แต่ก็เชื่อกันว่าก่อนที่มนุษย์จะรู้ว่าเมล็ดกาแฟใช้ทำเครื่องดื่ม คนพื้นเมืองคงจะบังเอิญได้เคี้ยวหรือบริโภคทั้งเมล็ดเหมือนอาหารทั่วไป แต่มีหลักฐานบ่งชี้ว่า มีการค้นพบต้นกาแฟถูกปลูกอยู่ในสวนพระราชฐานในเยเมน (Yemen) เมื่อ 1000 ปีก่อน และติดตามมาด้วยการปลูกในเชิงการค้า อย่างไรก็ดี ข้อมูลอ้างอิงนี้เป็นข้อมูลที่ถูกบันทึกย้อนหลังในศตวรรษที่ 15

ร้านกาแฟแห่งแรก (coffee house) เปิดในเมืองเมคคา (Mecca) ซึ่งเป็นที่แรกที่มีการริเริ่มดื่มกาแฟก่อนที่จะเผยแพร่วัฒนธรรมนี้ไปทั่วโลก ร้านกาแฟเหล่านี้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปเป็นร้านที่ตกแต่งหรูหราสวยงาม และมีการบรรเลงดนตรี การเต้นรำ เล่นหมากรุก และเป็นที่สนทนาซุบซิบ เป็นทั้งแหล่งบันเทิงและที่พูดคุยด้านธุรกิจ และถูกปิดในที่สุดเมื่อต่อมากลายเป็นที่ก่อการด้านการเมือง ถึงกับประณามว่ากาแฟเป็นเครื่องดื่มอันชั่วร้าย ในขณะที่บางกลุ่มมองว่ากาแฟเป็นยารักษาสารพัดโรค แต่ในภายหลังก็มีการจัดตั้งร้านกาแฟขึ้นมาอีก

การค้าขายกาแฟเป็นการค้าขายที่มีมูลค่าสูงจนชาวอาหรับต้องกีดกันไม่ให้ชาวต่างชาติมีโอกาสได้เห็นต้นกาแฟ รวมทั้งสั่งห้ามนำเมล็ดพันธุ์กาแฟออกนอกประเทศ อย่างไรก็ดี ได้มีการลักลอบนำเมล็ดพันธุ์และต้นอ่อนกาแฟไปปลูกที่อินเดียและชวาซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเนเธอร์แลนด์ในขณะนั้น ต่อมาชาวดัทช์กลายเป็นผู้จำหน่ายกาแฟรายใหญ่แก่ชาวยุโรปโดยมีเมืองอัมสเตอร์ดัมเป็นศูนย์กลางการค้า

พ่อค้าชาวเวนิส(Venetian) เป็นผู้นำกาแฟเข้าสู่ยุโรปเป็นรายแรกในปี 1615 และ 30 ปีต่อมาร้านกาแฟ (coffee house)หรือคาเฟ่ (cafe’) ก็มีเกิดขึ้นในเวนิส (Venice) ร้านกาแฟเหล่านี้กลายเป็นที่นิยมทั้งในการสังสรรค์เข้าสู่สังคม และการติดต่อทางธุรกิจ ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 17 วัฒนธรรมเหล่านี้ก็แพร่สะพัดไปสู่นานาประเทศในยุโรป ได้แก่ ออสเตรีย, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ฮอลแลนด์ และ อังกฤษ แม้แต่ลอยด์ออฟลอนดอน (Lloyd’s of London) บริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกก็มีจุดกำเนิดมาจากการเป็นร้านกาแฟ

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มีนาคม 30, 2011 นิ้ว ประวัติของกาแฟ